นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ ”) ซึ่งประกอบธุรกิจประกันชีวิต มีความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และติดสินบนในทุกรูปแบบ โดยบริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมด้วยความซื่อสัตย์ และโปร่งใสภายใต้กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนสนับสนุนและกำหนดให้บริษัทฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และติดตามให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหรือกระทำการใดๆ โดยให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตในการติดต่อหรือทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจส่งผลต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสม และขัดแย้งต่อหลักการบริหารจัดการที่ดี
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานใดๆ ของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทฯ จะเป็นไปตามกรอบแนวทางของนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ โดยจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่านโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และนโยบายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของบริษัทฯ จะช่วยส่งเสริมค่านิยมตลอดจนเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกัน เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน
นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ประกอบด้วย
1.1 นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และแนวทางปฏิบัติ ซึ่งในส่วนแนวทางปฏิบัตินั้นได้มี การจัดทำแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติโดยละเอียดเป็นฉบับเพิ่มเติมของกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ประกอบนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันฉบับนี้
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการให้เงินสนับสนุน
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการบริจาคเพื่อการกุศล
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการช่วยเหลือทางการเมือง
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการให้ การรับของขวัญ ของกำนัล
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการใช้จ่าย การเลี้ยงรับรองทางธุรกิจและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการจ่ายค่าอำนวยความสะดวก
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการจ้างพนักงานรัฐ
- แนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการขัดแย้งทางผลประโยชน์
1.2 นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
1.3 การประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและการควบคุมภายใน
คำนิยาม
คำนิยาม ความหมาย การทุจริตคอร์รัปชัน การแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหมายรวมถึง การรับหรือติดสินบน การช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล เงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น โดยเฉพาะหากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะโดยการนำเสนอ การให้ คำมั่นสัญญา การยอมรับ การร้องขอ การเรียกร้อง การให้หรือรับสินบน การชักจูงสู่การกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย หรือทำลายความไว้วางใจ หรือการกระทำ ใดๆ ที่ส่อไปในทางมิชอบ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความเสียหายต่อบริษัทฯ ต่อเศรษฐกิจ สังคม การช่วยเหลือทางการเมือง การให้ทรัพย์สินสิทธิประโยชน์อื่นใด หรือสถานที่ เช่น สถานที่พัก สถานที่รับรอง สถานที่ประชุม สถานที่ชุมนุม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง เพื่อสนับสนุน นโยบายการกระทำอันมิควร หรือการกระทำใดที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่งผลเสียต่อชุมชน สังคม ประเทศ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้เกิดความแตกแยกในสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม การให้สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด การให้สิทธิพิเศษในรูปของเงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือ ประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นสินน้ำใจ เป็นรางวัล หรือเพื่อการ สร้างสัมพันธภาพที่ดี การให้หรือรับสินบน การเสนอให้หรือรับสิ่งของ ของขวัญ รางวัล หรือผลประโยชน์อื่นใดให้แก่ตนเอง หรือจากบุคคลซึ่งต้องการ ให้โน้มน้าวให้กระทำการบางอย่างที่ไม่สุจริต ผิดกฎหมาย หรือผิดจรรยาบรรณของบริษัทฯ การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยง รับรอง และการบริการต้อนรับ การให้หรือการรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การอำนวย ความสะดวก ซึ่งอาจรวมถึงค่าที่พัก ค่าโดยสาร ค่าอาหาร/ เครื่องดื่ม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นเงิน สินค้า บริการ บัตรกำนัล เป็นต้น เพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี หรือในบางโอกาสถือเป็นการแสดงออกของมารยาททางสังคม ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจถือเป็นสินบน หากเป็นการให้เพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ การให้และรับการสนับสนุน เงินช่วยเหลือเงินสมทบ หรือสิ่งของในรูปแบบใดๆ ที่จ่ายให้ไปหรือการได้รับจากลูกค้า คู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อย่างสมเหตุสมผล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ การส่งเสริมตราผลิตภัณฑ์ หรือชื่อเสียงของบริษัทอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้า ช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และเหมาะสมแก่โอกาส การให้หรือรับการบริจาค เงิน สิ่งของ หรือประโยชน์ในรูปแบบใดๆ ก็ตามที่ได้รับ หรือให้กับบุคคล นิติบุคคล องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือมูลนิธิต่างๆ โดยไม่หวังผลตอบแทน การขัดแย้งทางผลประโยชน์ การดำนินกิจกรรมใดๆ ที่ปฏิบัติงานมีผลประโยชน์ส่วนตนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของบริษัทฯ ด้วย โดยสถานการณ์นั้นอาจทำให้บุคคลนั้นขาดความเที่ยงธรรมในการตัดสินใจได้อย่างโปร่งใส ค่าอำนวยความสะดวก เงิน สิ่งของ หรือ สิทธิประโยชน์ใดๆ ที่มอบให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อลดขั้นตอน เร่งรัด ยืนยัน หรือเพื่อให้มั่น ใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นการกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น เจ้าหน้าที่รัฐ/พนักงานรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่งานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ และบุคคล หรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจ หรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะ เป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับภาครัฐ และภาคเอกชน การติดต่องานกับภาครัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกชนเพื่อให้ได้มา ซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจการค้าการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงการติดต่องานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกชนจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชัน และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
3. กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งทบทวนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ สภาพ ธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมายต่างๆ เป็นต้น
4. ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติกฎหมาย ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อ คณะกรรมการตรวจสอบ
5. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ และในกรณีที่พบเห็นการกระทำอันเป็นที่ฝ่าฝืนนโยบายฉบับนี้ จะต้องรีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้ตามนโยบายฉบับนี้
แนวทางปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
1. การให้ การรับของขวัญ ของกำนัล (Gifts) ต้องปฏิบัติดังนี้
- (1.1) ไม่รับ ไม่ให้ หรือเรียกร้องของขวัญ ของที่ระลึก ที่เป็นเงินสด เช็ค พันธบัตร หุ้น ทองคำ อัญมณี อสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของในทำนองเดียวกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ตนได้เข้าไปติดต่อประสานงานทั้งในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ในทางมิชอบ
- (1.2) ไม่รับ ไม่ให้ หรือเรียกร้องทรัพย์สิน สิ่งของ ของขวัญ ของกำนัลใดๆ หรือประโยชน์อื่น อันเป็นการชักนำให้เกิดการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตน
- (1.3) ไม่รับ ไม่ให้ หรือเรียกร้องทรัพย์สิน สิ่งของ ของขวัญ หรือของกำนัลใดๆ หรือ ประโยชน์อื่น เพื่อจูงใจในการตัดสินใจ หรือมีผลทำให้ไม่ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม
- (1.4) ไม่เป็นตัวกลางในการเสนอเงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหน่วยงานราชการ หรือองค์กรใดๆ เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษที่ไม่ควรได้ หรือทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐละเว้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ และข้อปฏิบัติทางกฎหมายตามที่กำหนดไว้
กรณียกเว้นที่สามารถกระทำได้
- (1.1) การให้ของขวัญของกำนัล ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ การแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ สามารถกระทำได้ แต่ของขวัญของกำนัลที่ให้ต้องอยู่ในราคาที่ เหมาะสม ตามกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทฯ หรือองค์กรของผู้รับ เช่น หน่วยงานราชการบางแห่งกำหนดราคาของขวัญในช่วงเทศกาลไม่เกิน 3,000 บาท เป็นต้น โดยการให้ของขวัญ ของกำนัล ต้องระบุชื่อในนามบริษัทฯ เท่านั้น และระบุ วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนรวมถึงมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และดำเนินการเบิกจ่ายผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ
- (1.2) การรับของขวัญ ของกำนัล หรือสิ่งของในโอกาสหรือเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่พึงปฏิบัติต่อกัน เช่น เทศกาลปีใหม่ การแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ สามารถกระทำได้ แต่ของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดนั้น ต้องมีราคาหรือมูลค่าการรับไม่เกิน 3,000 บาท และ/หรือ กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล หรือระหว่างองค์กร บริษัทฯ กำหนดให้พนักงานระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการขึ้นไปเป็นผู้แทนองค์กรในการรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด แต่หากสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดนั้นมีราคาหรือมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท กำหนดให้กรรมการผู้จัดการเป็นผู้แทนองค์กรในการรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดนั้น และนำส่งต่อฝ่ายงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการสต๊อกของขวัญ ของกำนัล ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดนั้น
อนึ่ง สำหรับการรับของขวัญ ของกำนัล บริษัทฯ มีนโยบาย “งด” รับของขวัญ ของกำนัล ในทุกเทศกาล (No Gift Policy) โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของ บริษัทฯ “งด” รับของขวัญ ของกำนัลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ บุคคลภายนอก หน่วยงานราชการ หรือองค์กรใดๆ ทั้งนี้ หากไม่สามารถปฏิเสธการรับ หรือไม่สามารถส่งคืนแก่ผู้ให้ได้ ผู้รับจะต้องรายงานการรับของขวัญ ของกำนัลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ รวมถึงจัดส่งของขวัญของกำนัล ให้แก่ฝ่ายจัดการสต๊อกของขวัญ ของกำนัล เพื่อดำเนินการใดๆ ตามความเหมาะสม
ในการนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และยึดหลักระเบียบปฏิบัติ ดังที่ระบุไว้ในแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการให้ การรับ ของขวัญ ของกำนัล
2. การใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามสัญญาทางธุรกิจ สามารถกระทำได้โดยการเบิกจ่ายต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ ดังที่ระบุไว้ในแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการใช้จ่าย การเลี้ยงรับรองทางธุรกิจและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
3. การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Contribution) ต้องปฏิบัติดังนี้
- (3.1) การใช้เงิน หรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อการกุศล ต้องกระทำในนามบริษัทฯ เท่านั้น โดยการบริจาคเพื่อการกุศล ต้องเป็นมูลนิธิ องค์กรสาธารณะกุศล วัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือองค์กร เพื่อประโยชน์ต่อสังคมที่มีใบรับรองหรือเชื่อถือได้ สามารถตรวจสอบได้ และ/หรือดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ ดังที่ระบุไว้ในแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการบริจาคเพื่อการกุศล
- (3.2) การบริจาคเพื่อการกุศลในนามส่วนตัวพึงกระทำได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้อง หรือทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่าเป็นการกระทำที่ทุจริต เพื่อหวังผลประโยชน์ใด
4. การให้เงินสนับสนุน (Sponsorship) ต้องปฏิบัติดังนี้
การใช้เงินหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการสนับสนุนโครงการใดๆ ที่จัดขึ้นโดยบุคคลภายนอก นอกจากกลุ่มบริษัทฯ ต้องระบุชื่อในนามบริษัทฯ เท่านั้น โดยการสนับสนุนเช่นว่า ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ภาพลักษณ์ที่ดี และส่งเสริมชื่อเสียงของบริษัทฯ ทั้งนี้ การสนับสนุนนี้ ต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ ดังที่ระบุไว้ในแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติการให้เงินสนับสนุน
5. การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contribution) ต้องปฏิบัติดังนี้
- (5.1) บริษัทฯ มุ่งเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงไม่มีแนวทางในการให้การช่วยเหลือทางการเมืองแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อม เว้นแต่ เป็นการช่วยเหลือเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น การให้ใช้พื้นที่ของอาคารของบริษัทฯ เพื่อรณรงค์และสนับสนุนให้ประชาชนใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับ การร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และดำเนินการผ่านขั้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ ดังที่ระบุไว้ในแนวทางและขั้นตอนปฏิบัตสำหรับการช่วยเหลือทางการเมือง
- (5.2) ในกรณีของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัทฯ บริษัทฯ สนับสนุนให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามครรลองของกฎหมายในฐานะพลเมืองดี มีสิทธิที่จะแสดงออก เข้าร่วมสนับสนุน ใช้สิทธิทางการเมืองได้นอกเวลาทำงาน โดยใช้ทรัพยากรของตนเองเท่านั้น และต้องไม่กระทำการอันใดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในบริษัทฯ และไม่ใช้ทรัพยากรใดของบริษัทฯ เพื่อดำเนินการดังกล่าว
6. การติดต่อกับหน่วยงานราชการ (Government Interaction) ต้องปฏิบัติดังนี้
- (6.1) พนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังและโปร่งใสในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ
- (6.2) พนักงานของบริษัทฯ ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้ได้รับการผ่อนปรนจากการควบคุมของหน่วยงานภาครัฐ หรือเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ละเว้นการกระทำใดๆ ซึ่งถือ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่อย่างมิชอบด้วยกฎหมาย
7. การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payments)
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายจ่ายค่าอำนวยความสะดวก ในรูปแบบใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตาม กระบวนการเร่งด่วนพิเศษที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ตราบเท่าที่กระบวนการดังกล่าวเปิดให้บริการกับทุกๆ คน หรือทำได้ตามขอบเขตของกฎหมายที่ประเทศนั้นๆ กำหนด
8. หากบุคลากรของบริษัทฯ พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต หรือส่อไปในทางทุจริตที่มีผลเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉยต่อพฤติกรรมดังกล่าว ควรแจ้งให้บริษัทฯ ทราบทันที ผ่านช่องทางการแจ้งเหตุหรือเบาะแสที่บริษัทฯ กำหนด
9. หากบุคลากรของบริษัทฯ กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ จะต้องได้รับบทลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับที่บริษัทได้กำหนดไว้โดยวิธีการลงโทษจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และสถานการณ์แวดล้อม รวมถึงอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
10. บริษัทฯ ไม่มีนโยบายลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อบุคลากรของบริษัทที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
11. กรรมการและผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ให้ความรู้ให้คำปรึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติตนให้เป็นไปตามนโยบายว่าด้วยการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันฉบับนี้รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์มีจริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ
12. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทฯ มีการควบคุมดูแลการทำรายการกับผู้ที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจ13. ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับภาครัฐและภาคเอกชน
บริษัทฯ มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสซึ่งรวมถึงการติดต่องานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกชนจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง14. การจัดจ้างพนักงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
บริษัทฯ ไม่มีมีนโยบายว่าจ้างพนักงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ยังดำรงตำแหน่งในภาครัฐ เพื่อดำรงตำแหน่ง กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือที่ปรึกษาของบริษัทฯ สำหรับการว่าจ้างพนักงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา หรือกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูง จะต้องได้รับการพิจาณา แต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการชุดย่อยที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการจ้างพนักงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะไม่ได้เป็นการตอบแทนการได้มา ซึ่งประโยชน์ใดๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทฯ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีคุณธรรมและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้กำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดหรือข้อร้องเรียนด้วยเจตนาสุจริต ซึ่งหากผู้ใดพบเห็นการกระทำความผิดของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตัวแทน นายหน้า และบุคลากรของบริษัทฯ กระทำความผิดด้วยเจตนาทุจริต คอร์รัปชั่น การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน สามารถแจ้งข้อมูลหรือข้อร้องเรียนมายังบริษัทฯ โดยการแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางตามที่กำหนดไว้ บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลของผู้แจ้งไว้เป็นความลับตลอดระยะเวลาระหว่างดำเนินการสอบสวนจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าว
เรื่องที่รับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
- การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ
- การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณ
- การทุจริต คอร์รัปชัน หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นการทุจริตหรือการคอร์รัปชัน
- การกระทำที่เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
- การฉ้อฉลประกันภัย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย
- การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การทุจริตต่อหน้าที่
- ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และการบริการ
- การกระทำอื่นใดซึ่งทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย
ช่องทางการรับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
- ลูกค้าตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแจ้งข้อร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (We care Unit) ซึ่งเป็นหน่วยงาน กลางของบริษัทฯ โดยมีช่องทางในการแจ้งข้อมูลดังนี้
- (1.1) ไปรษณีย์ : ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (We care Unit) บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 175 อาคารสาธรซิตี้ ทาวเวอร์ ชั้น 1/1และ 2/1 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพฯ 10120 - (1.2) โทรศัพท์ หมายเลข 02-648-3600
- (1.3) อีเมล [email protected]
- (1.1) ไปรษณีย์ : ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (We care Unit) บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- การแจ้งเบาะแส ข้อมูล หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อฉลประกันภัย สามารถแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางในการแจ้งข้อมูลดังนี้
- (2.1) ไปรษณีย์ : ฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เลขที่ 175 อาคารสาธรซิตี้ ทาวเวอร์
ชั้น 1/1 และ 2/1 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพฯ 10120 - (2.2) โทรศัพท์ หมายเลข 02-648-3570
- (2.3) อีเมล [email protected]
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดโดยจะจัดทำบันทึกการดำเนินงานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และจะไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวของผู้แจ้งหรือผู้ร้องเรียน รวมทั้งจะเก็บข้อมูลการแจ้งไว้เป็นความลับ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายกับผู้แจ้ง
มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้งเบาะแส ผู้แจ้งข้อมูล บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ในกรณีดังต่อไปนี้
- 1. บริษัทฯ จะปกปิดชื่อที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นใด ที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งไว้เป็นความลับ โดยจำกัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
- 2. ในกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทฯ กำหนดให้มีมาตรการคุ้มครอง ผู้แจ้งเบาะแส ข้อมูลหรือข้อร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยไม่ให้ผู้แจ้งได้รับความเดือดร้อน อันตรายอันเนื่องมาจากการแจ้งเรื่องดังกล่าว
- 3. บริษัทฯ กำหนดมาตรการในการพิจารณาเบาะแส เรื่องร้องเรียน ด้วยความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยกำหนดให้พนักงานผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับการแจ้ง ต้องเก็บรักษาข้อมูล และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด
กระบวนการภายหลังได้รับแจ้งเบาะแส ข้อมูลหรือข้อร้องเรียน
เมื่อบริษัทฯ ได้รับการแจ้งเบาะแส ข้อมูลหรือข้อร้องเรียนพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง จะมอบหมายให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมีอำนาจหน้าที่ในดำเนินการพิจารณาเบาะแสหรือข้อร้องเรียนดังกล่าว โดยจะพิจารณาด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงหลักของผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
- 1. คณะกรรมการทบทวนผลการพิจารณาชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต
- 2. คณะกรรมการบริหารจัดการการทุจริตและฉ้อฉล (Corrupt & Fraud Management Committee)
การสอบสวนและบทลงโทษ
1. ขั้นตอนการพิจารณา เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสข้อมูลหรือข้อร้องเรียนบริษัทฯ จะมอบหมายให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- (1.1) ตรวจสอบ รวมรวบข้อเท็จจริง พิจารณากลั่นกรอง รวมถึงกำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา และพิจารณากำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด
- (1.2) วิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำในอนาคต
- (1.3) จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐาน หรือเพื่อใช้ในการรายงานต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแลทั้งนี้ตามแนวทางที่กฎหมาย หรือประกาศกำหนด
2. ระยะเวลาในการพิจารณา เมื่อบริษัทฯ ได้รับเรื่อง จะดำเนินการสอบสวนและพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการกำหนด
3. บทลงโทษ ผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนด และกรณีเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้กระทำความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย
การประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและการควบคุมภายใน
บริษัทฯ ตระหนักว่า กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเห็นถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ ทำให้สามารถเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจได้อย่างเหมาะสม มีศักยภาพและทันเวลา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีการระบุและประเมินปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและคอร์รัปชันในกระบวนการและวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง) ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการติดต่อกับหน่วยงานราชการ รวมทั้งทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ใช้อยู่ และจัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม (หากจำเป็น) เพื่อให้ความเสี่ยงต่างๆ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้ ตลอดจนจัดให้มีกระบวนการต่างๆ ตามความจำเป็นเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในเพื่อจัดการการทุจริตคอร์รัปชันได้
การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูล
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานเกี่ยวกับระบบงานระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสาร ข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินการในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลระบบงานและระบบคอมพิวเตอร์ ได้มีการป้องกันรักษาให้พร้อมที่จะใช้ได้ตลอดเวลาในธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนการวางรูปแบบและต้นทุนของมาตรการต่างๆ ในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามความเหมาะสมต่อความเสี่ยงของข้อมูล ระบบงาน และระบบของคอมพิวเตอร์เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งมั่นดังกล่าว
การอบรมพนักงานและการสื่อสาร
บริษัทฯ จะจัดอบรมให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องถึงภาพรวมของการทุจริตคอร์รัปชัน รวมไปถึงนโยบายและแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตขององค์กรให้แก่ ผู้บริหาร และพนักงานเพื่อสามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างถูกต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจ วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินการต่อข้อร้องเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานในการแจ้งเหตุและเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม การเสริมสร้างและกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้บริหารและพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงตนในกรอบแนวทางด้วยการฝึกอบรมเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ การจัดกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น
- (2.1) ไปรษณีย์ : ฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เลขที่ 175 อาคารสาธรซิตี้ ทาวเวอร์
- ลูกค้าตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแจ้งข้อร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (We care Unit) ซึ่งเป็นหน่วยงาน กลางของบริษัทฯ โดยมีช่องทางในการแจ้งข้อมูลดังนี้
การเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทฯ จะดำเนินการ ดังนี้
1. บริษัทฯ จะเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทฯ เช่น อีเมล เว็บไซต์บริษัทฯ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ รายงานประจำปี และระบบเครือข่ายภายในองค์กร จดหมายแจ้งไปยังคู่ค้าของบริษัท เพื่อให้พนักงานและบุคคลภายนอกรับทราบ
2. บริษัทฯ จะจัดให้มีการอบรมนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกปี ตลอดจนบริษัทฯ ได้จัดอบรมให้แก่พนักงานใหม่ได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่ถูกต้อง ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญสำหรับการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของบริษัทฯ
3. บริษัทฯ จะมีการทบทวนนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็นประจำทุกปี
การทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ กำหนดให้มีการทบทวนปรับปรุงมาตรการและนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี หรือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการและนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของบริษัทฯ รวมทั้งเป็นไปตามข้อบังคับและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง